ยินดีต้อนรับ......ทุก ๆ ท่าน.....เข้าสู่บทเรียนผ่านเว็บ เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Photoshop Cs3    





































































 

       

      เมื่อเปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมา เราก็จะเห็นเครื่องมือในการทำงานจำนวนมาก ได้แก่ ไตเติลบาร์ (Title Bar) เมนูบาร์
(Menu Bar) , ออปชั่นบาร์ , (Option Bar) , กล่องเครื่องมือ (Toolbox) , พาเล็ต (Palette) ต่าง ๆ แถบสถานะ (Status Bar)
และพื้นที่ทำงาน (Canvas)

          ไตเติลบาร์ (Title Bar) คือแถบด้านบนสุดของวินโดว์ใช้แสดงชื่อของโปรแกรมและชื่อไฟล์ที่กำลังจะสร้างขึ้นมาอยู่ในมุมด้านซ้ายมือพร้อมกับปุ่มควบคุมการทำงาน
วินโดว์ สำหรับทำการพัก/ขยายวินโดว์และปิดโปรแกรมอยู่ทางมุมด้านขวามือ

              เมนูบาร์ (Menu Bar) เป็นเมนูหลักที่ใช้สั่งการของโปรแกรม ประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ที่ใช้จัดการกับไฟล์ภาพทำงานกับภาพ และปรับค่าต่าง ๆ โดยเมนูนี้มีเมนูย่อย ๆ ให้เลือกใช้งาน

 
   กลุ่มคำสั่งต่าง ๆ สำหรับจัดการไฟล์ภาพเช่นการเปิด-ปิดไฟล์การบันทึกและ
   การพิมพ์
   กลุ่มคำสั่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการปรับแต่ง เช่น การตัดการคัดลอก
   กลุ่มคำสั่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการปรับแต่งและการตกแต่งภาพ
   กลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการเลเยอร์
   กลุ่มคำสั่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการและการปรับรูปแบบเขตของขอบ
   การเลือก (Selection)
   กลุ่มคำสั่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนภาพอัตโนมัติ เช่น Fiter และ Plug-in
   กลุ่มคำสั่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำหนดมุมมองภาพ เช่น การย่อขยายรวมทั้งการ
  กำหนดตำแหน่งของการ วัด เช่น เส้นกริด ไกด์และไม้บรรทัด
   กลุ่มคำสั่งต่างกี่ยวกับการจัดการพาเล็ตให้ปรากฏหรือไม่ปรากฏบนหน้าจอ
   รวบรวมคำแนะนำต่าง ๆ ในการใช้งานโปรแกรม


 

  ได้แก่

 

     New

    เป็นคำสั่งสร้างไฟล์ใหม่

     Open

    เป็นคำสั่งเปิดไฟล์กราฟิกส์ที่มีอยู่แล้ว

     Close

   ปิดไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่

     Save

   บันทึกไฟล์ข้อมูลที่ทำงานอยู่ในชื่อเดิม

     Save As

   บันทึกไฟล์ข้อมูลที่ทำงานอยู่ในชื่ออื่นเพื่อไม่ให้ทับไฟล์เดิม

     Save a Copy

   บันทึกไฟล์ข้อมูลที่ทำงานอยู่ในชื่ออื่น และ อาจเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ    เช่น ฟอร์แมทของภาพ

     Revert 

   เปลี่ยนไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ให้กลับไปเป็นไฟล์เดิม โดยโปรแกรมจะใช้ไฟล์

     Import

    ทำการอ่านข้อมูลจาก Scanner

     Export 

   ส่งงานจาก Photoshop ไปให้โปรแกรมอื่น เช่น Illustratorหรืออาจส่งเป็นไฟล์  แบบ GIF

     Preferences

   กำหนดรายละเอียดของโปรแกรมตามต้องการ

 

  ได้แก่

 

     Cut

   ทำการตัดเอาส่วนที่เลือกไว้ เก็บเข้าไปในหน่วยความจำที่เรียกว่าคลิปบอร์ด

    Copy

   ทำการคัดลอกส่วนที่เลือกไว้ เก็บเข้าไปในคลิปบอร์ด

     Paste

   เอาภาพที่เก็บไว้คลิปบอร์ด ปะลงไปในภาพที่กำลังทำงานอยู่

     Paste Into

   เอาภาพที่เก็บไว้คลิปบอร์ด ปะลงไปในส่วนของภาพที่เลือกไว้ (Selectin)

     Clear 

   ลบภาพในพื้นที่ที่เลือกไว้ (Selection)

     Fill

   เติมสีลงไปในพื้นที่ที่เลือกไว้

     Stroke

   เติมสีลงไปเฉพาะตรงขอบของพื้นที่ที่เลือกไว้

     Free Transform 

   ทำการเปลี่ยนแปลงทิศทางและขนาดของภาพอย่างเสรี

     Transform 

   ทำการเปลี่ยนแปลงทิศทางและขนาดของภาพเฉพาะอย่าง

     Purge

   ล้างหน่วยความจำที่ใช้เก็บภาพในคลิปบอร์ด ประวัติการทำงาน (history) เพื่อให้มี
    หน่วยความจำเหลือ  สำหรับพื้นที่ทำงานมากขึ้น

 

  ได้แก่

 
  

   Mode

   กำหนดโหมดสีที่จะใช้สำหรับภาพกราฟิกส์ เช่น สีแบบไล่เทา (Grayscale) หรือ  แดง-เขียว-น้ำเงิน (RGB)

   Adjustments

   ปรับแต่งโทนสีของภาพ ความคมชัด ความเข้มของแสง ระดับของสี

   Duplicate

   ทำสำเนาภาพขึ้นใช้งานอีกภาพหนึ่ง

   Image Size 

   ปรับแต่งขนาดและความละเอียดของภาพ

   Canvas Size 

   ปรับแต่ง/เพิ่ม 'พื้นที่ทำงานของภาพ

   Crop

    กำจัดพื้นที่ทำงานนอกส่วนที่เลือก (Selection) ออกไ

   Rotate Canvas

   ปรับเปลี่ยนทิศทางของภาพ

 

 

 

 

 

 

 
 

          เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการปรับแต่งภาพในแต่ละเลเยอร์และการเรียงลำดับก่อนหลังของเลเยอร์

 
 

  ได้แก่

 

     All

   เลือกภาพทั้งหมด

     Deselect

   ยกเลิกการเลือก

    Inverse

   เลือกส่วนของภาพที่ไม่ได้ถูกเลือก พูดอีกแง่ก็คือ กลับส่วนที่เลือก/ไม่เลือก

    Color Ran

   ทำการเลือกส่วนของภาพตามสีที่ต้องการ

     Feather

   ทำให้ขอบของส่วนที่เลือก (Selection) ดูนุ่มขึ้น

     Similar

   เพิ่มขนาดของส่วนที่เลือก (Selection) จากสีที่ใกล้เคียงกัน

     Transform Selection

   ปรับทิศทางของเส้น Selection)

   
 
 
 
 
 

          เป็นแถบคำสั่งที่เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนภาพอัตโนมัติ รวมทั้งคำสั่งเกี่ยวกับ ค่าลายน้ำ (Digimarc) ซึ่งถือเป็นการ
จดลิขสิทธิ์แสดงความเป็นเจ้าของภาพ ก็เป็นฟิลเตอร์หนึ่งที่อยู่ในเมนูนี้เช่นกัน

 

 

 

 

 

 

 

 
 

          รวบรวมคำสั่งในการกำหนดมุมมองภาพในรูปแบบต่างๆ การย่อ-ขยาย รวมทั้งเรื่องการวัด Grid, Guide และไม้บรรทัดด้วย

 

 

 
 

 

 

 

           เป็นส่วนที่ใช้ในการปรับแต่งการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งรายละเอียด จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือราเลือกใช้ในขณะนั้น เช่น มื่อเลือกเครื่องมือ    Pen Tool จากแถบตัวเลือกแล้ว จะได้แถบเมนูย่อยของเครื่องมือที่เลือก ดังตัวอย่าง

 

 

 
 

 

 

 
 

เมื่อเลือกเครื่องมือ Brush Tool และ Option Bar ของ Brush Tool เป็นดังนี้

 

 

 

 
 

 

 

 
 
 

          แถบสถานะ (Status Bar) คือ ตำแหน่งที่แสดงขนาดของไฟล์ และรายละเอียดการทำงานอื่น ๆ ใช้แสดงข้อความในขั้นตอนการทำงาน เช่น การเซฟ , ขนาดไฟล์ เป็นแถบที่บ่งบอกถึงวีธีการทำงาน เช่น การเซฟ การเปิดไฟล์ ฯลฯ

 
 
 
 
 
 

          Palette กลุ่มหน้าต่างเล็ก ๆ ที่มีหน้าที่การทำงานเฉพาะ ส่วนใหญ่แล้วจะช่วยเสริมการทำงานและควบคุม รายละเอียดในด้านต่างๆของโปรแกรม อย่างเช่น พาเล็ต Swatches ใช้สำหรับเลือก หรือกำหนดสี , พาเล็ต History ใช้จัดการข้อมูลการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ ที่ผ่านมา เป็นต้น เราสามารถปิดพาเล็ตเก็บไปบ้าง หรือเปิดพาเล็ตใหม่ขึ้นมาเพิ่มได้โดยคลิก เมนู window รายชื่อของพาเล็ตทั้งหมดจะปรากฏขึ้นมา พาเล็ตที่เปิดอยู่คือพาเลทที่มีเครื่องหมายถูกอยู่หน้าชื่อ ดังนั้น การเปิดพาเล็ตก็คือการคลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้าชื่อพาเล็ตนั้นส่วนจะปิดก็เปลี่ยนเป็นคลิกให้เครื่องหมายถูกหายไป

 
 
 
 
 
 

          Canvas พื้นที่ทำงาน หรือกระดานวาดภาพ ตรงนี้เป็นส่วนที่เราจะสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาทำงาน ตกแต่งชิ้นงาน หรือเปิดไฟล์รูปขึ้นมาแก้ไข