ยินดีต้อนรับ......ทุก ๆ ท่าน.....เข้าสู่บทเรียนผ่านเว็บ เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Photoshop Cs3    





































































 

 

 

          การกำหนดมุมมองในโปรแกรม Photoshop คือการกำหนดให้หน้าต่างโปรแกรมแสดงผลการทำงานตาม
ความเหมาะสมกับความต้องการ เพื่อช่วยให้การสร้างสรรค์ผลงานทำได้ง่ายเข้า โดยกำหนดจากรูปแบบของมุมมองที่อยู่ใน
กล่องเครื่องมือ (Tool Box) ซึ่งมีมุมมองที่ใช้อยู่ 4 มุมมอง คือ
          1.  มุมมอง Standard Screen Mode
          2.  มุมมอง Maximized Screen Mode
          3.  มุมมอง Full Screen Mode with Menu Bar
          4.  มุมมอ Full Screen Mode

 

รายละเอียดของมุมมองแต่ละชนิด

 

         1. มุมมอง Standard Screen Mode    ใช้แสดงส่วนประกอบทุกอย่างของโปรแกรม Photoshop ทั้งหมด
ซึ่งปกติเมื่อเปิดใช้โปรแกรมครั้งแรกจะเข้าสู่โหมดการทำงานนี้เสมอ เวลาใช้งานให้คลิกเมาส์ที่ไอคอนที่ต้องการใช้งาน หรือ
ต้องการสลับโหมดที่ต้องการใช้งาน ในการสลับการทำงานระหว่างมุมมองนอกจากจะใช้ Tool Box และสามารถใช้ปุ่มบน
แป้นพิมพ์ F เพื่อสลับมุมมองได้อีกด้วย

 
 

          2. มุมมอง Maximized Screen Mode   คล้ายกับมุมมอง Standard แต่จะแสดงรูปเพียงรูปเดียว

 
 

          3. มุมมอง Full Screen Mode with Menu Bar   มุมมองนี้ใช้แสดงหน้าต่างให้เต็มจอ โดยตัดส่วนที่เป็น
Title bar ของโปรแกรมและหน้าต่างรูปภาพออกไป เพื่อให้เห็นรูปภาพในมุมมองที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 
 

          4. มุมมอง Full Screen Mode   รูปแบบของการแสดงผลของโหมดนี้มีความคล้ายคลึงกับ Full Screen Mode with Menu bar แต่ตัดส่วนที่เป็นเมนูบาร์ออกไปอีก ซึ่งจะทำให้เห็นพื้นที่การทำงานได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกทั้ง
บริเวณพื้นหลังจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นสีดำ

 

 

 

 

 

          ไม้บรรทัดเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำให้เราสามารถกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและแม่นยำขึ้นโดยปกติ
ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์จะไม่มีไม้บรรทัดขึ้นมาให้เห็น เราต้องเรียกใช้จากเมนูคำสั่ง View เลือกคำสั่ง Rulers
ซึ่งหากเราเลือกใช้คาสั่งเปิดไม้บรรทัดแล้วจะปรากฏเครื่องหมาย / หน้าคาสั่ง หรือ สามารถกดแป้นพิมพ์ Ctrl + R
จะปรากฏไม้บรรทัดขึ้นมาให้ที่หน้าต่างภาพทั้งด้านบน และ ด้านซ้ายของรูปภาพที่เราเลือกทางานอยู่

 
 
 

          เมื่อเรียกใช้ไม้บรรทัดของหน้าต่างภาพแล้ว เราสามารถเปลี่ยนหน่วยวัดไม้บรรทัดเป็นหน่วยอื่น ๆ ได้อีกด้วย โดยคลิกเมาส์ขวาที่ไม้บรรทัดจะปรากฏกรอบคาสั่งของหน่วยวัดไม้บรรทัดรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นให้คลิกเลือกหน่วยวัด
ไม้บรรทัดตามความต้องการ เช่น Inches, Centimeters, Millimeters

 
 

          การใช้ไม้บรรทัดจะมีตำแหน่งที่สาคัญในการใช้ก็คือตำแหน่งศูนย์ หมายถึง ตำแหน่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของระยะการวัด
ที่ 0 ของไม้บรรทัดทั้งด้านบนและด้านซ้ายโดยตำแหน่งจะอยู่ตำแหน่งแรกของไม้บรรทัดทั้งสองด้านเป็นรูป
ซึ่งตำแหน่งศูนย์นี้เราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้เริ่มต้นบริเวณไหนตรงรูปภาพโดยเราคลิกที่ตาแหน่งศูนย์ตรงไม้บรรทัดแล้ว
ลากไปยังตำแหน่งใด ๆ ของรูปภาพที่ต้องการเป็นจุดเริ่มต้นของตาแหน่งศูนย์ บริเวณของภาพที่ต้องการนั้นจะเริ่มต้นระยะ
การวัดที่ทันทีทั้งสองด้านหากต้องการให้ตำแหน่งศูนย์กลับไปยังจุดเดิมใหม่ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ตำแหน่งศูนย์หน่วยการวัดก็จะเป็น
เหมือนตอนครั้งแรกที่เรียกใช้ไม้บรรทัด

 
 

 

   

          ในไม้บรรทัดมีเส้นอยู่ในไม้บรรทัด เราเรียกว่า เส้นไกด์ Guide ซึ่งเส้นไกด์นี้จะใช้ร่วมกับไม้บรรทัดเสมอ
ก่อนที่จะใช้เส้นไกด์เราจำเป็นจะต้องเรียกใช้ไม้บรรทัดเสียก่อน ซึ่งเส้นไกด์นี้จะช่วยในการกะระยะและตำแหน่งที่เรา
ต้องการจัดวางได้อย่างแม่นยาและง่ายต่อการทำงาน ซึ่งเส้นไกด์นี้จะเป็นเส้นสีฟ้าที่อยู่ในไม้บรรทัด โดยวิธีการใช้งาน
คือใช้เมาส์คลิกที่ไม้บรรทัดด้านใดก็ได้ แล้วลากเมาส์ออกมาจากไม้บรรทัด จะเห็นว่าที่ปลายเมาส์จะมีเส้นสีฟ้า
นั่นคือเส้นไกด์ติดมาด้วย จากนั้นปล่อยเมาส์ที่บริเวณที่ต้องการวางเส้นไกด์ จะปรากฏเส้นไกด์บริเวณของภาพนั้น
ซึ่งเราสามารถใช้เส้นไกด์นี้ช่วยในการจัดตำแหน่งทั้งแนวตั้งและแนวนอน

   
 
   

          นอกจากนี้เรายังสามารถสร้างเส้นไกด์แบบอัตโนมัติจากการใช้คาสั่งโดยไปที่คาสั่ง View เลือกคาสั่ง
New Guide จะปรากฏไดอะล็อกบล็อกซ์ของการสร้างเส้นไกด์ ให้กาหนดดังนี้

   

- Orientation      การวางตาแหน่งของเส้นไกด์
- Horizontal       การวางเส้นไกด์ในแนวนอน
- Vertical           การวางเส้นไกด์ในแนวตั้ง
- Position           ระยะที่วางบนไม้บรรทัดของเส้นไกด์ (เป็นหน่วยวัด) 
                         ซึ่งหน่วยวัดจะเป็นหน่วยเดียวกันกับไม้บรรทัด

 
 

          เส้นระดับ Grid คือ ตารางที่มีระยะห่างของช่องเท่ากันทุกช่อง ที่ช่วยในการจัดวางวัตถุให้ง่ายขึ้น สามารถทำได้โดยไปที่เมนู View เลือกคาสั่ง Show และคำสั่ง Grid ก็จะปรากฏเส้นกริดบนรูปภาพเพื่อช่วยในการจัดวางวัตถุ
และวัดระยะได้อย่างแม่นยำ

 
 
 

          ถ้าหากต้องการยกเลิกการเรียกใช้เส้นระดับให้ใช้คำสั่งเดิมอีกครั้ง เส้นระดับที่อยู่บนภาพจะถูกยกเลิกการใช้งานไป และถ้าเราต้องการปรับเปลี่ยนเส้นระดับรวมถึงเส้นไกด์ก็สามารถทำได้โดยเลือกเมนู Edit เลือกคาสั่ง Preferences เลือก
คำสั่ง Guides, Grid & Slices จะปรากฏไดอะล็อกบล็อกซ์ของคำสั่งให้ปรับแต่งส่วนต่างๆ ดังนี้

 

               - Color            ใช้กำหนดดสีเส้นไกด์หรือเส้นระดับ
               - Style            ใช้กาหนดลักษณะเส้น
               - Gridline Every ใช้กาหนดระยะห่างของเส้นระดับ
               - Subdivisions   ใช้กาหนดจำนวนเส้นระดับ